วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย

 

 

        ประวัติความเป็นมา ประเพณี วิ่งควาย เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ชลบุรี งานนี้จัดขึ้นหลังฤดูการไถนาเพื่อให้ควายพักเหนื่อยหลังการ ใช้งานอย่างหนัก และระหว่างรอการเก็บเกี่ยวชาวนาจะนำควายมา ชุมนุมกันเพื่อถือโอกาสมาพบปะสนทนากัน  รวมทั้งการซื้อขายสิน ค้าที่ตลาดจน กลายมาเป็นการแข่งขันวิ่งควายขึ้น

    ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายในเขตเทศบาลเมืองชลบุรีจะจัดในวัน ขึ้น 14  ค่ำ  เดือน  11  อำเภอบ้านบึงจัดในวันขึ้น  26  ค่ำ เดือน  11  วัดดอนกลาง  ตำบลแสนสุข  อำเภอชลบุรี  จัดวิ่งควายในวัน ทอดกฐินประจำปีของวัดในวันนี้ นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่ง ควายแล้ว  ยังมีการประกวดความงามของควาย  การประกวดสุขภาพของควาย  และการ  “สู่ขวัญควาย”หรือการทำขวัญควายอีกด้วย 

ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปีในวัน ก่อนออกพรรษา 1 วัน เป็นประเพณีที่เป็นมรดก ตกทอดมา แต่บรรพชนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อน จากงานในท้องนาเพื่อ ให้สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า หากปีใดไม่มีการ วิ่งควายปีนั้นควายจะเป็นโรคระบาดกันมาก เพื่อแสดงรู้คุณ ต่อควายซึ่งเป็นสัตว์ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพทำนา และเพื่อให้ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์กัน ส่วนใหญ่ จัดงานในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี และอำเภอบ้านบึง เดิมมีแต่คนในท้องถิ่นรู้จัก แต่ในปัจจุบันประเพณีวิ่ง ควายเป็นประเพณีประจำจังหวังชลบุรี ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่วทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

    ในอดีตประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีวิ่งควายที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่ว่าถ้าควายของ ใครเจ็บป่วย เจ้าของควายควรจะนำควายของตนไปบนกับเทพารักษ์ และเมื่อหายเป็นปกติแล้วจะต้องนำ ควายมาวิ่งแก้บน ฉะนั้น ในปีต่อๆ มาชาวบ้านก็นำควายของตนมาวิ่งเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเสียแต่เนิ่นๆ
                                                                 
      ส่วนความเชื่อในทางศาสนาพุทธนั้น เกิดจากการที่ชาวบ้านมา ชุมนุมกัน ที่วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี เพื่อนำเครื่องกัณฑ์ใส่ ควายเทียมเกียวนมาพักที่วัด เพื่อจะรอการติดกันเทศน์ในเทศกาล เทศน์มหาชาติ ขณะที่รอเด็กเลี้ยงควายต่างก็นำควายของตนไปอาบ น้ำที่สระบริเวณวัด เมื่อต่างคนต่างพาควายของตนไปก็เกิดมีการประ ลองฝีเท้าควายเกิดขึ้น เพื่อทดสอบสุขภาพความแข็งแรงกันการแข่ง ขันในระยะแรกๆจึงเป็นเพียงการบังคับควายขณะ วิ่งในระยะที่กำหนด และห้ามตก จากหลังควาย ต่อมาจึงเชื่อว่าการวิ่งควายได้มีการพัฒนา ขึ้นเรื่อยๆ มีการวิ่งรอบตลาด เมื่อถึงเทศกาลก่อนออกพรรษา 1 วัน ชาวบ้านร้านตลาดต่างก็จะรอดูควายที่มาวิ่งมีการ ตกแต่งควายให้สวย งามและวิจิตรบรรจงมากขึ้นจนกลายเป็นประเพณีวิ่งควาย
    ส่วนขั้นตอนการวิ่งควาย ในปัจจุบันเจ้าของควายจะตกแต่งควาย อย่างงดงามด้วยผ้าแพรพรรณดอกไม้หลากสี ตัวเจ้าของควายก็แต่ง ตัวอย่างงดงามแปลกตา เช่น แต่งเป็นชาวเขา ชาวอินเดียแดงหรือตก แต่งด้วยเครื่องทองประดับเพชรเหมือนเจ้าชายในลิเกละครที่แปลกตา
แล้วนำควายมาวิ่งแข่งกัน โดยเจ้าของ เป็นผู้ที่ขี่หลังควายไปด้วย ความสนุกอยู่ที่ท่าทางวิ่งควายที่แปลก บางคนขี่ก็ลื่นไหลตกลงมา จากหลังควายและคนดูจำนวนมากจะส่งเสียงกันดังอย่างอื้ออึง และมี การเพิ่มประกวดสุขภาพควายประกวด การตกแต่งควายทั้งสวยงาม และตลกขบขัน
    มีการประกวดน้องนางบ้านนา ทำให้ ประเพณีวิ่งควายมีกิจกรรมมากขึ้น ชาวเกษตรกรรมต่างก็พอใจกัน พืชพันธุ์ธัญญาหาร ในไร่กำลังตกดอกออกรวง จึงคำนึงถึงสัตว์ เช่น วัว ควาย ที่ได้ใช้งานไถนาเป็นเวลา หลายเดือน ควรจะได้รับความสุขตามสภาพบ้าง จึงต่างตกแต่งวัว ควายของตนให้สวยงาม บรรดาเกษตร กรมีการสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนมีการประกวดความสมบูรณ์ของวัวและควายที่เลี้ยงกัน เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ทุกคนจะต้อง หยุดงานไปวัดในวันพระ ประเพณีวิ่งควายไม่ใช่เรื่องไร้ สาระเป็นเรื่องที่แฝงไว้ด้วยความสามัคคีธรรม คนโบราณของเราเป็นคนที่ตระหนักในความกตัญญูกตเวทิตา คุณ และมีความเมตตาธรรมสูง เห็นวัวควายทำงานให้กับคน เป็นสัตว์ที่มีคุณแก่ชีวิตจึง สืบทอดประเพณีนี้ ตลอดมา

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น