วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติวันออกพรรษา


 วันออกพรรษา
 
วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
 

        วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์
     วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน  ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
วันออกพรรษา เรียกว่าอย่างหนึ่งว่า วันปวารณาหรือ วันมหาปวารณาคือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน

การเล่นและการแข่งขันว่าวไทย

   

 การเล่นและการแข่งขันว่าวไทย





       การเล่นว่าวจริงๆจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เริ่มการเล่นโดยการเอาเชือกว่าวผูกกับคอซุง แล้วทดสอบดูการผูกก่อนว่าได้ศูนย์ดีหรือไม่ แล้วให้คนส่งว่าวไปยืนโต้ลม ห่างจากผู้เล่นว่าว ประมาณ 4 -5 เมตร ตั้งหัวว่าวขึ้นรอ พอลมมาก็ส่งว่าวขึ้นไป คนชักว่าวจะกระตุกและผ่อนสายว่าวจนว่าวสูงขึ้นติดลมบน จึงถือไว้นิ่งๆ หรือบังคับให้ว่าวส่ายไปมา

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย

 

 

        ประวัติความเป็นมา ประเพณี วิ่งควาย เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ชลบุรี งานนี้จัดขึ้นหลังฤดูการไถนาเพื่อให้ควายพักเหนื่อยหลังการ ใช้งานอย่างหนัก และระหว่างรอการเก็บเกี่ยวชาวนาจะนำควายมา ชุมนุมกันเพื่อถือโอกาสมาพบปะสนทนากัน  รวมทั้งการซื้อขายสิน ค้าที่ตลาดจน กลายมาเป็นการแข่งขันวิ่งควายขึ้น

    ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายในเขตเทศบาลเมืองชลบุรีจะจัดในวัน ขึ้น 14  ค่ำ  เดือน  11  อำเภอบ้านบึงจัดในวันขึ้น  26  ค่ำ เดือน  11  วัดดอนกลาง  ตำบลแสนสุข  อำเภอชลบุรี  จัดวิ่งควายในวัน ทอดกฐินประจำปีของวัดในวันนี้ นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่ง ควายแล้ว  ยังมีการประกวดความงามของควาย  การประกวดสุขภาพของควาย  และการ  “สู่ขวัญควาย”หรือการทำขวัญควายอีกด้วย 

ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีวันสงกรานต์


ประวัติ


        สงกรานต์ แปลว่า การย้าย เคลื่อนที่ คือเป็นวันที่พระอาทติย์โคจรย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ตามการคำนวณของโหรผู้รู้ทางโหราศาสตร์ ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 แต่ทางจันทรคตินี้ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน จึงถือเอาวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันสงกรานต์ เพื่อเป็นการสะดวกสำหรับการนับวันตามปฏิทิน
 ใน สมัยโบราณได้ถือวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่นั้น เนื่องจากประเทศที่อยูในแถบร้อนถือว่าช่วงเวลาเริ่มต้นฤดูร้อนนั้นเป็นช่วง เวลาที่ดีที่สุด ด้วยว่างเว้นจาก การทำการเกษตร อีกทั้งอากาศที่หนาวเย็นก็ผ่านพ้นไปแล้ว ด้วยในช่วงฤดูหนาวนั้นเป็นช่วงที่ทุก ๆ อย่างนั้น หยุดนิ่งไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ก็หยุดผลิดอกออกผล สัตว์ทั้งหลาย ก็หยุดนิ่งนอนจำศีล ด้วยอากาศที่หนาวเย็นนั้นไม่สะดวกในการใช้ชีวิต หรือการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั่นเอง

       วันสงกรานต์จึง เป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ในประเทศแถบร้อน ซึ่งแตกต่างจากประเทศแถบหนาวดังที่กล่าวไว้ในเรื่องของวันปีใหม่ วันสงกรานต์มีทั้งหมด 3 วันด้วยกัน ได้แก่ วันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ หมายถึง ก้าวหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ คือ สงกรานต์ปี การที่พระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ วันที่ 14 เมษายนเป็นเนา หมายถึง อยู่คือวันที่ถัดมาจากวันมหาสงกรานต์ 1 วัน การที่พระอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีเมษเรียบร้อยแล้ว และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก หมายถึง วันขึ้นศกใหม่แต่ในส่วนของตำนานวันสงกรานต์รวมถึงประเพณีที่เกี่ยวข้องกับ นางสงกรานต์นั้น มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกของวัดพระ เชตุพนวิมลมังคลารามจะกล่าวพอสังเขปดังต่อไปนี้


คุณธรรมความเป็นครู

ความเป็นครู

           ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว  ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง  เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย  ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้